Last updated: 28 ก.ย. 2559 | 11609 จำนวนผู้เข้าชม |
วันนี้แอดมิดขออนุญาติ พาเพื่อนๆเรามาทำรู้จักมารยาท และวัฒนธรรมของคนญี่ปุ่น เบื้องต้นก่อนที่เพื่อนๆจะเริ่มแพ็คกระเป๋าไปเที่ยวญี่ปุ่น หรือ ไมก็ซื้อแพ็คเกจ ทัวร์ญี่ปุ่น แล้วไปเที่ยวกัน วันนี้ ผมขอ นำเสนอ 5 มารยาทของคนญี่ปุ่นที่ผมได้ไปสัมผัส มาโดยไปกับ บริษัท Premiumworldtour ถ้าเพื่อนๆพร้อมกันแล้วก็ มาทำความรู้จักกันเลย
1. การใช้ภาษาของคนญี่ปุ่นและความสัมพันธ์
ญี่ปุ่นเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญต่อกลุ่มและสมาชิกในกลุ่มโดยมีสถานที่เป็นตัวบ่งบอกคนที่อยู่อาศัยในที่เดียวกันหรือทำงานในที่เดียวกันนั้นถือว่าเป็นพวกเดียวกันเรียกว่า(อุชิ) และสำหรับคนที่อยู่ต่างสถานที่ต่างบริษัท ต่างประเทศจะถือว่าเป็นคนนอกหรือคนอื่นเรียกว่า(โซโตะ) คนญี่ปุ่นจะใช้ภาษาและการปฎิบัติตนที่แตกต่างไปจากต่อคนที่อยู่ในสังกัดเดียวกัน โดยทั่วไปคนญี่ปุ่นใช้ภาษาที่สุภาพและการถ่อมตนกับผู้ที่เป็นผู้อื่นหรือผู้ใหญ่กว่า แม้ว่าตนเองจะไม่รู้สึกยกย่องคนๆนั้นก็ตาม การใช้ภาษาของคนญี่ปุ่นเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เราเห็นลักษณะความสัมพันธ์ของคนญี่ปุ่นในสังคมได้ว่า ใครอาวุโสกว่าใครหรือต่อให้สนิทสนมกันแค่ไหนเป็นกลุ่มเดียวกันหรือคนละกลุ่มเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย จะต้องใช้ถ้อยคำที่ไพเพราะเมื่อพูดกับคนอื่นหรือผู้ที่มีความเป็นอาวุโสมากกว่า
ลักษณะเด่นของคนญี่ปุ่น ที่ทำให้คนญี่ปุ่นเป็นคนระมัดระวังและให้ความสำคัญต่อความรู้สึกของผู้อื่นอย่างมาก ในการใช้ภาษา การแสดงความใส่ใจของคู่สนทนา หรือพูดประโยคลอยๆค้างไว้เพื่อให้คู่สนทนามีโอกาศได้สอดแทรกสานประโยคให้จบซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้คู่สนทนามีส่วนร่วมในสิ่งที่ตนพูดด้วย หรือการพูดแบบอ้อมค้อมไม่ชี้บ่งบอกอะไรไปตรงๆ หรือละความเอาไว้ให้ผู้สนทนาด้วยคิดเอาเอง และในการสนทนากับคนญี่ปุ่นจะเป็นการเสียมารยาทมากถ้าเราไม่เอ่ยถึงการกระทำของผู้นั้นที่ส่งผลดีต่อเราและต้องใช้สำนวนที่รู้สึกสำนึกบุญคุณต่อการกระทำนั้นๆด้วย เช่นขอบคุณที่ได้เกื้อหนุนอุ้มชูเราอยู่เสมอ ซึ่งเป็นมารยาทที่ควรจะพูดตามธรรมเนียมของคนญี่ปุ่น และเป็นจุดเด่นของคนญึ่ปุ่นที่คนไทยควรนำไปทำตามเป็นอย่างยิ่ง
2. วิธีการตอบปฏิเสธของคนญี่ปุ่นที่มีลักษณะเฉพาะ
คนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญต่อ “ความสอดประสานกลมกลืนกัน” ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคลเป็นอย่างยิ่ง และด้วยเหตุนี้ คนญี่ปุ่นจึงไม่ชอบที่จะทำให้เกิดรอยร้าวในความสัมพันธ์เพราะการปฏิเสธอย่างชัดแจ้ง เช่น เมื่อจะปฏิเสธคำเชิญชวนหรือคำแนะนำ จะเลี่ยงไปตอบด้วยการพูดว่า “chotto…” ซึ่งก็คือ “ออกจะ…” แล้วก็ละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า “ไม่สะดวก” คำว่า “chotto”ไม่ได้ใช้เฉพาะในการเรียกความสนใจเท่านั้น แต่ยังใช้ในเวลาที่อยากจะปฏิเสธด้วย เป็นสำนวนที่สะดวกมากแม้แต่ในสถานการณ์เกี่ยวกับธุรกิจ สำนวนอ้อม ๆ ก็ใช้บ่อย เช่น ในกรณีที่จะปฏิเสธข้อเจรจาทางธุรกิจกับคู่เจรจา สำนวนที่ใช้บ่อยคือ “kentô shitemimasu” ซึ่งมีความหมายว่า “จะลองพิจารณาดู” แต่จริง ๆ แล้ว มีความหมายว่า “กรุณาอย่าคาดหวังการตอบรับ” รวมอยู่ด้วย
3. ประเพณี การโค้งคำนับ ของคนญี่ปุ่น แยกได้ 3 ประเภท
การโค้งในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ชาวญี่ปุ่นนิยมโค้งแทนในเวลาที่พบหรือลา ประเพณีการโค้งของคนญี่ปุ่นนับว่าซับซ้อนพอควร เช่น
การโค้งทักทาย คือ การทักทายกับผู้ที่สนิทแบบเป็นกันเอง วิธีการคือ ก้มตัวทำมุมประมาณ 15 องศา
การโค้งเคารพแบบธรรมดา คือ การทักทายกับผู้ที่เรารู้จัก หรือพนักงานขายกับลูกค้า วิธีการคือ ก้มตัวประมาณ 30 องศา
การโค้งเคารพแบบนอบน้อม คือ การให้ความเคารพกับผู้ใหญ่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า หรือเจ้านายที่มีตำแหน่งสูง วิธีการคือ ก้มตัวประมาร 45 องศา กับแนวเส้นตรง
รองเท้า
คนญี่ปุ่นถือเรื่องเท้าคล้ายคลึงกับคนไทย เช่น ห้ามสวมรองเท้าในบ้าน วัด โรงแรมแบบญี่ปุ่น รวมไปถึงพิพิธภัณฑ์ ร้านหรือห้องอาหารบางแห่ง โดยปรกติแล้วจะมีการเตรียมรองเท้าแตะไว้ให้ก่อนเข้าบริเวณที่ห้ามสวมรองเท้า แต่ถ้าเป็นพื้นที่ปูเสื่อตะตะมิ แม้รองเท้าแตะก็ต้องถอดก่อนขึ้นไปนั่งหรือเดิน ให้ถอดรองเท้าไว้ที่เกงคัง (บริเวณหน้าบ้าน สำหรับไว้ถอดรองเท้าก่อนขึ้นบ้าน) โดยให้ปลายรองเท้าหันไปทางด้านประตูเท่านั้น นอกจากนี้เวลาเข้าห้องน้ำจะมีรองเท้าแตะที่จัดไว้ใช้เฉพาะสำหรับห้องน้ำ
4. การแชร์กันออกค่าอาหาร
คนญี่ปุ่นก็จะมีธรรมเนียมการแชร์กันออกค่าใช้จ่ายในการรับประทาน อาหารเช่นกันเหมือนกับคนอเมริกาเช่นกัน
5.การเข้าแถว
ชาวญี่ปุ่นจะเคร่งครัดในเรื่องของกฏระเบียบพอสมควรไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรอขึ้นรถ การซื้อตั๋วรถ แม้แต่การเข้าแถวรอเพื่อเข้าไปรับประทานอาหาร หรือเข้าห้องน้ำสาธารณะ ซึ่งในการเข้าแถว รอเข้าห้องน้ำก็จะต้องรอที่ทางเข้าไม่ยืนรอที่หน้าประตูของห้องน้ำนั้นๆ (ต่างจากคนไทย ไม่รู้ว่าจะกดดันคนกำลังปลดทุกข์อยู่หน้าห้องน้ำทำไม?)
ในสังคมญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นถูกสอนตั้งแต่สมัยอนุบาลศึกษา ทั้งพ่อแม่ ทั้งครู และทั้งบรรดาผู้ใหญ่จะดุเด็กๆ ที่แซงคิวหรือไม่เข้าคิว ตั้งแต่สมัยเด็ก ก็เข้าใจว่าการแซงคิวนั้นเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ นี่ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับดีหรือไม่ดี แต่อยู่ที่ว่าทำได้หรือทำไม่ได้มากกว่า เนื่องจากว่าทุกครั้งที่พยายามจะแซงคิว เด็กๆจะโดนผู้ใหญ่ดุ และไม่มีผู้ใหญ่ที่แซงคิว ทำให้เด็กรู้ว่า ฉันก็ทำไม่ได้
คนที่แซงคิวถูกมองว่าเป็นคนที่ไม่มีคุณค่า เพราะคนนั้นเป็นคนที่เห็นแก่ตัว ไม่เกรงใจคนอื่น และทำให้คนอื่นรอนานเพราะความเห็นแก่ตัวของตนเอง ชาวญี่ปุ่นแทบทุกคนเน้นความตรงต่อเวลามาก ดังนั้น การแซงคิวหมายความว่า คนที่แซงนั้นไม่ให้เกียรติต่อเวลาของคนอื่น เมื่อคนใดคนหนึ่งไม่เห็นคุณค่าในเวลาของคนอื่น คนนั้นก็ถูกมองว่าคนที่ไร้คุณค่า
แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นเผชิญกับสึนามิโศกนาฎกรรมน่าเศร้าเช่นนี้ ญี่ปุ่นก็ยังแสดง ภาพน่าประทับใจให้เห็นถึงสังคมที่มีรูปแบบอย่างดีสามารถรับมือกับวิกฤตอย่าง นิ่งสงบและมีระเบียบ
สิทธิและความเท่าเทียมกัน แม้ว่าคนที่อยู่ข้างหน้าของแถวนั้นเป็นคนใดก็ตาม เราก็รู้สึกว่า เขามีสิทธิมากกว่าเรา แม้ว่าเราจะมีอำนาจสูกว่า มีเงินมากกว่า มีการศึกษาสูงกว่า ตำแหน่งที่สูงกว่าก็ตาม ในแถวนั้น คนที่มีสิทธิมากที่สุดก็คือคนที่มาเร็วที่สุด คนนั้นเป็นใคร ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เวลาคนญี่ปุ่นเค้าจะข้ามถนนยังต้องเข้าแถวเลย
สังคมญี่ปุ่นเชื่อว่า การเข้าคิวนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน เพราะถ้าไม่มีคิว คนที่ได้เปรียบที่สุดก็คือ คนที่ไม่รู้จักคำว่าอาย เราก็ไม่อยากจะให้สังคมของเราเป็นสังคมที่คนที่ไม่รู้จักคำว่า อาย ได้เปรียบ ทุกคนก็ยอมรับที่จะเข้าแถว แม้ว่าแถวนั้นจะยาวเป็นหลายกิโลก็ตาม
ในสังคมบางสังคม ในขณะที่เราเข้าแถว ผู้ใหญ่มาถึงที่นั้น มักจะมีคนที่ต้อนรับท่านผู้ใหญ่และบอกว่า “เชิญทางนี้นะค่ะ/ครับ” หลังจากนั้นก็จะให้บริการแก่ท่านผู้ใหญ่คนนั้นก่อนคนที่เข้าแถวเป็นเวลานาน
ถ้าในประเทศญี่ปุ่น อาจจะมีคนที่ต้อนรับท่านผู้ใหญ่ (แม้ว่าหายาก) แต่คนที่ต้อนรับท่านผู้ใหญ่นั้นก็ต้องบอกว่า “ขอบคุณครับท่าน ขอโทษนะครับ วันนี้ คิวมันจะยาวหน่อยครับ”
เป็นยังไงบ้างครับ หลังจากที่ได้ 5 มารยาท รู้สึกน่าทึ่งไม อย่างที่บอกเลยใช่ไม ละ แล้วก็อย่าลืมนะ ครับทุกท่าน เวลาไปเที่ยวญี่ปุ่น คนเดียวหรือ จะไปแบบ บริษัททัวร์ญี่ปุ่น ก็อย่า ลืม 5 มารยาทและวัฒนธรรม ของ คนญี่ปุ่นกันนะครับ
ขอขอบคุณ การท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น และ พรี่เมี่ยม เวิล์ด ทัวร์ ที่ได้นำเสนอ โปรแกรมท่องเที่ยวญี่ปุ่นดีๆ มาให้ผมได้ไปเปิดประสบการที่ประเทศญี่ปุ่น อย่างไรฝากเพื่อนๆ ติดตามบทความอื่นๆ ของ แอดมิดได้ที่นี้ >> คลิก<<
19 เม.ย 2559
16 ส.ค. 2558
12 ส.ค. 2558
20 ส.ค. 2558